วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

 บทที่ ๑
ศาสนาพราหมณ์
                ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่และเชื่อว่าเกิดก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า ๕,000 ปี  ตลอดจนเป็นต้นตำหรับของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม และอื่น ๆ
                การเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆ  หนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม  แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายในฐานะเป็นศาสดาคำสอนที่ท่านสอนก็เป็นศาสนา   แต่ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่าง ๆที่เกิดขึ้นเพราะมีผู้รวบรวมลัทธิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป  (อินเดีย - เนปาลร้อยกรองเข้าเป็นรูปของศาสนาโดยมีการดัดแปลง แก้ไขอยู่เสมอ  เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือของประชาชน ซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับศาสนาอื่นในแง่ที่ดึงศาสนาไปหาความเชื่อของคน แทนที่จะดึงความเชื่อของคนเข้าหาศาสนา

บทที่9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

1. ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอนที่ประกอบด้วยหลักศีลธรรมทั้งที่เป็นข้อห้ามและ ข้อควรปฏิบัติ ส่วนในภาษาอังกฤษ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า โดยมี การยอมมอบกายถวายชีวิตของตนให้พระเจ้าด้วยความจงรักภักดี ต้องมีหลักความเชื่อเรื่อง พระเจ้าหรืออำนาจที่อยู่เหนือการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่ง ในโลก

 2. องค์ประกอบของศาสนา คือ ศาสดา ศาสนธรรม ศาสนทายาท ศาสนพิธี ศาสนสถานและศาสนิกชน

บทที่8 หน้าที่ชาวพุทธ และมารยาทชาวพุทธ

1. หน้าที่ชาวพุทธ
ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป
          1.1 หน้าที่และบทบาทของพระภิกษุสามเณร
          พระนักเทศน์ ได้แก่ พระภิกษุที่ปฏิบัติหน้าที่สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยการแสดงธรรม (เทศน์) และจะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นพระนักเทศน์ตามหลักสูตรของมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มี 2 ประเภท คือ

บทที่7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

ประวัติของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. พระนางมัลลิกา
2. พระอัสสชิ
3. หมอชีวกโกมารภัจจ์
4. พระกีสาโคตมี อ่านต่อ

บทที่6 การบริหารจิต และการเจริญปัญญา

1. การบริหารจิต
          การบริหารจิต หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง
สมาธิ หมายถึง ภาวะของจิตที่ตั้งมั่น กำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เรื่องใดเรื่องหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอื่นหรือเรื่องอื่นจากสิ่งที่กำหนด ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งหรืออารมณ์เดียวและจิตตั้งมั่นนั้นจะต้องเป็น กุศล ลักษณะของสมาธิ คือ จิตจะเกิดความสงบ เยือกเย็น สบายใจ มีความผ่อนคลาย เอิบอิ่มใจ ปลอดโปร่ง และมีความสุข
 

หน่วยที่5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

พระไตรปิฎก : โครงสร้าง ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎก
ชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันปิฎก
         พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อยพระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

 1.1   ม.4-6/2   วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้  การก่อตั้ง  วิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  หรือวิเคราะห์ประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
             ม.4-6/14   วิเคราะห์ข้อคิดและแบบอย่างการดำเนินชีวิตจากประวัติสาวกชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด