วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ตัวชี้วัด

 1.1   ม.4-6/2   วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้  การก่อตั้ง  วิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  หรือวิเคราะห์ประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
             ม.4-6/14   วิเคราะห์ข้อคิดและแบบอย่างการดำเนินชีวิตจากประวัติสาวกชาดก เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างตามที่กำหนด                  

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. วิเคราะห์พุทธประวัติ  ตอนตรัสรู้และก่อตั้งพระพุทธศาสนาได้
2. วิเคราะห์ข้อคิดและแบบอย่างการดำเนินชีวิตจากประวัติพระสาวกและชาดกได้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา    

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรง

หน่วยการเรียนรุ้ที่ 2

พุทธประวัติและชาดก

พระพุทธมีพระนามเดิมว่า สิทธัตถะเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่ โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันว่า จะได้ออกบวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

วันสำคัญทางศาสนาพุทธและศาสนพิธี

     วันสำคัญทางศาสนาพุทธนิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธวันสำคัญทางศาสนาพุทธทพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม
ผู้ที่จะเป็นพระสงฆ์ได้จะต้องผ่านการบวชโดยวิธีหนึ่งใน 3 วิธี ได้แก่
1. การบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เรียกว่า เอหิกภิกขุอุปสัมปทา
2. การบวชด้วยการรับไตรสรณคมน์ เรียกว่า ติสรณคมนูปสัมปทา
3. การบวชที่คณะสงฆ์ยอมรับเข้าหมู่โดยมติเอกฉันท์ เรียกว่า ญัตติตุตถกัมมอุปสัมอุปทา